Grief vs Depression
Grief vs. Depression
Grieving is a normal process. Grief can even be healthy as it enables the individual to experience and attain closure of their feelings when they lose someone dear to them. Signs and symptoms of grief overlap with many of the symptoms we see in depressive disorder, such as feelings of hopelessness, sleep disturbances, sadness, withdrawal from social activities, and even anger. There are five stages of grief: denial, anger, bargaining, depression, and acceptance. A normal grieving period usually lasts between six to eight weeks. While the feelings of sadness associated with grief should only be temporary, any associated symptoms extending beyond eight weeks, which begin to affect the individual’s daily life and social surroundings, should be evaluated by a primary care physician for major depressive disorder. It is believed that when an individual fail to successfully come to terms with their feelings during the grieving period, they are prone to falling into depression. As I, along with millions around the world, mourn the loss of our beloved King, I urge everyone to support each other through this very difficult time. With the support of family and friends there are constructive ways of facing and understanding your feelings, such as writing your feelings and thoughts in a journal and reading them to family members and friends in order to face them together. Writing a letter of tribute can be another outlet during grieving. These are a few effective ways of coping during this very difficult time. Here is my past article on the subject of major depressive disorder . It is my hope that with the support of each other, we can all grieve in a constructive way, and not fall into health complications. His Majesty King Bhumibol Adulyadej will forever live in our hearts. _/|\_ Respectfully Yours, Chakriwat, M.D. Thai Version: ภาวะการสูญเสีย VS. โรคซึมเศร้า ภาวะการสูญเสียหรือการเสียใจเป็นเรื่องธรรมชาติในวัฏจักรของมนุษย์ ความโศกเศร้าก็เป็นสิ่งที่ดีเหมือนกันเพราะจะช่วยทำให้ความรู้สึกของคนที่มีภาวะสูญเสียได้หมดลงในเร็ววัน สัญญาเตือนและอาการของความสูญเสียจะทับซ้อนและคล้ายกับโรคซึมเศร้า ตัวอย่างเช่น การสิ้นหวัง นอนไม่ค่อยจะหลับ มีอาการเศร้า ไม่อยากเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและมีอารมณ์โกรธหุนหัน ภาวะของการสูญเสียมี 5 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ 1.ยอมรับความจริงยังไม่ได้ 2. มีอารมณ์โกรธหุนหัน 3. มีการต่อรองและเจรจาในความรู้สึกของตัวเอง 4. มีภาวะซึมเศร้า 5. ทำใจรับในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้แล้ว โดยปกติผู้ที่อยู่ในภาวะการสูญเสียจะมีอาการแค่ 6-8 สัปดาห์โดยประมาณ ในขณะที่อารมณ์เศร้าโศกเสียใจของผู้ที่มีภาวะสูญเสียในการสูญเสียคนที่รักซึ่งอาการแบบนี้น่าเป็นแบบชั่วคราวและหากอาการดังกล่าวยังมีมากกว่า 8 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งทำให้มีผลกระทบในทางไม่ดีต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันควรที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าอาการของภาวะสูญเสียนั้นกลายเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ เชื่อกันว่าหากคนที่มีภาวะสูญเสียไม่สามารถเข้าใจและไม่ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตไปก็อาจจะทำให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้าได้ ข้าพเจ้าและประชาชนทั่วโลกขอร่วมถวายความอาลัยอย่างยิ่งต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้งนี้ข้าพเจ้าอยากจะขอให้ทุกท่านได้สนับสนุน ให้กำลังใจและจับมือซึ่งกันและกันผ่านช่วงเวลาแห่งความโศกเศร้าเสียใจนี้ให้ได้ โดยการสนับสนุนและกำลังใจดีๆจากครอบครัวและเพื่อนๆรอบข้างซึ่งก็มีหลายๆหนทางที่ดีที่จะสามารถทำให้เราได้เผชิญกับความจริงและเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้มากขึ้น เช่น การเขียนความรู้สึกตัวเองลงไปในกระดาษและอ่านให้คนที่สนิทและคนในครอบครัวฟัง ตัวเราเองก็จะได้ทบทวนปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราอีกครั้งผ่านการอ่าน ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังจะได้รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเรากับผู้ฟังก็จะเข้าใจความรู้สึกของกันและกันด้วย อีกวิธีหนึ่งที่เป็นทางออกที่ดีของผู้ที่อยู่ในภาวะของการสูญเสียบุคคลที่เรารักไป ลองเขียนจดหมายบรรยายสิ่งดีๆที่มีต่อบุคคลที่เราสูญเสียไปหรือเขียนบรรยายความทรงจำดีๆที่มีต่อท่านแล้วส่งไปให้เพื่อน ซึ่งก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดมในการรับมือในระหว่างช่วงเวลาที่โศกเศร้าเสียใจ ณ ตอนนี้ นี่คือบทความโรคซึมเศร้าที่ข้าพเจ้าได้เขียนไว้นานแล้ว นี่คือความหวังของข้าพเจ้าที่จะเห็นทุกท่านสนับสนุน ให้กำลังใจซึ่งกันและกันและขอให้อยู่ภาวะสูญเสียนี้เป็นไปในทางที่ดีและขออย่าให้ภาวะสูญเสียดังกล่าวทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนจนทำให้เกิดโรคซึมเศร้าด้วยนะครับ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงสถิต ณ ดวงใจของเราตลอดไป ขอแสดงความนับถือต่อทุกท่าน นายแพทย์จักรีวัชร